วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งเกวียน ต.เวียงตาล อยู่ในความดูแลของฝ่ายอุตสาหกรรม
ป่าไม้ภาคเหนือองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) แต่เดิม ออป. เป็นศูนย์ฝึกลูกช้างซึ่งเป็นแห่งแรก
และแห่งเดียวในโลก โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 เป็นสถานที่เลี้ยงและฝึกลูกช้างเพื่อให้
เชื่อฟังคำสั่งและมีความชำนาญในการทำไม้ขณะที่แม่ช้างไปทำงานในป่า และเนื่องจากมีนโยบายปิดป่าซึ่งทำให้ช้างต้องว่างงาน ศูนย์ฝึกลูกช้างจึงถูกปรับมาเป็นสถานที่ดูแลช้างแก่และเจ็บป่วย และที่นี่ยังเป็นสถานที่ตั้งของโรงพยาบาลช้างด้วย ออป.จึงได้ก่อตั้งศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 และจัดกิจกรรมเพื่อการท่องเที่ยว ได้แก่
การแสดงของช้าง ซึ่งยังคงอนุรักษ์ศิลปะการทำไม้ซึ่งใช้ช้างเป็นพาหนะ และแรงงานที่สำคัญ ในการชักลากไม้ที่ได้จัดแสดงให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างประเทศได้ชม เวลาในการแสดง
วันจันทร์ - ศุกร์ มีการแสดง 2 รอบ ในเวลา 10.00 น . และ 11.00 น .
วันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดต่างๆ จะเพิ่มรอบการแสดงในเวลา 13.30 น .
นั่งช้างรอบบริเวณซึ่งเป็นสวนป่า ธรรมชาติยังมีสิ่งดีๆ ที่คอยให้กำลังใจกับเราทุกเมื่อ บางครั้งเราอาจจะสับสนวุ่นวาย เครียดหนักกับการทำงานทั้งวัน ทั้งสัปดาห์ลองหลบความวุ่นวายเหล่านั้น ไป
ท่องเที่ยวกับธรรมชาติ โดยเฉาะกับการขี่ช้างชมธรรมชาติ ท่านจะรู้สึกถึงความแปลกใหม่ในชีวิต
เป็นรางวัลจากความเหน็ดเหนื่อยที่จะทำให้ท่านลืมงานที่ออฟฟิคไปอีกหลายวันเชียวแหละ การนั่งช้างให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 8.00 - 15.30 น .
การแสดงของลูกช้างทุกวันวันละ 3 รอบคือ 09.30 น., 11.00 น. และ14.00 น.
ช้างแท็กซี่ หรือบริการนั่งช้างชมธรรมชาติรอบๆ ศูนย์ฯ มีทุกวัน เวลา 08.00-15.30 น
โฮมสเตย์ (Homestay) ซึ่งนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสบรรยากาศธรรมชาติ เรียนรู้วิถีชีวิตที่ผูกพันระหว่างช้างกับคนเลี้ยงช้างอย่างใกล้ชิด บริการอาหารเครื่องดื่มและร้านขายของที่ระลึก ค่าเข้าชมสำหรับ ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการได้หลายเส้นทาง
ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Awards) ประเภทรางวัลดีเด่นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ พ.ศ.2541 ปัจจุบันศูนย์ฯมีโครงการ โรงเรียนฝึกควาญช้าง เพื่อฝึกควาญหรือผู้ที่ประสงค์จะเป็นควาญให้สามารถดูแลช้างได้อย่างถูกต้อง มีชาวต่างชาติให้ความสนใจมาสมัครเป็นนักเรียนหลายคน นอกจากเรื่องท่องเที่ยวแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ พลังงานที่ใช้ภายในศูนย์ฯ มาจากพลังงานทดแทนในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ มีก๊าซชีวภาพจากมูลช้างใช้ในการหุงต้ม และ
กระแสไฟฟ้าผลิตจากเซลล์แสงอาทิตย์
สวนป่าทุ่งเกวียน เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวลำปาง มีป่าสนเมืองหนาวและพันธุ์ไม้นานาชนิด ทั้งไม้ดอก ไม้ใบที่มีสีสันสวยงาม อีกทั้งไม้จำพวกตะบองเพชร และปาล์ม ตลอดจน
พืชสมุนไพรต่างๆ นักท่องเที่ยวสามารถแค้มปิ้งที่นี่ได้ ช่วงที่สวยที่สุดเหมาะแก่การพักแรมคือเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกบัวตองกำลังบาน เนื่องจากจังหวัดลำปางมีพื้นที่เป็นแอ่งกะทะจึงมีอากาศที่ร้อนกว่าแม่ฮ่องสอน ดอกบัวตองที่ลำปางจึงบานเร็วกว่าที่ดอยแม่อูคอประมาณ 15 วัน
ประมาณเดือนตุลาคมมีการจัดกิจกรรมทุ่งเกวียนเมาเท่นไบค์ และเดือนธันวาคมของทุกปี จะมี
การจัดงาน “ดอกไม้บานวันพบช้าง”
วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557
วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
โครงงานสมุนไพรไล่มด
บทที่
1
โครงงานเรื่อง
สมุนไพรไล่มด
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีทำให้สัตว์หรือแมลงอยู่ไม่ได้
จึงมาคุกคามมนุษย์เป็นจำนวนมาก เช่นมด อันตรายจากมด
การป้องกันตัวของมดโดยการกัดศัตรู ให้ได้รับความเจ็บปวด จะปล่อยพิษออกมา ทำให้เป็นผื่นคัน
ผิวหนังปวดบวมอักเสบ ในบางครั้ง มดจะเข้ามาแย่งกินอาหาร ทำให้อาหารเน่าบูด
อาจทำให้เกิดโรคท้องเสียได้ อยากจัดสวนในบริเวณบ้าน
แต่บริเวณบ้านมีมดคันไฟเยอะมากเลย เคยกำจัดหลายครั้งแล้ว
แต่ก็กลับมาใหม่ในเวลาที่รวดเร็ว คนโบราณมีวิธีไล่มดง่ายๆดังนี้ ให้เอาขมิ้นพอสมควรมาตำจนละเอียด
จากนั้นเทน้ำมันก๊าดผสมลงไป กวนให้ข้นๆ นำขมิ้นผสมน้ำมันก๊าดไปโรยบริเวณที่มีมด
มดจะหนีหายไปหมด เรามักจะพบมดตามที่แห้งบริเวณที่เป็นซอกหรือรอยแตกของพื้นปูน
พื้นไม้ หรือตามต้นไม้ แม้แต่ในบ้านเราก็พบมดเช่นกัน ขึ้นอยู่ตามเสื้อผ้า
อาหารซึ่งทำให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก
การซื้อยาฆ่าแมลงตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมี
ทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมหรือหากบ้านไหนมีเด็กเล็กๆ
หรือสัตว์เลี้ยงก็อาจจะเกิดอันตรายได้แทนที่จะเป็นมด
คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่น การใช้สมุนไพรไทยบางชนิด
หรือวัตถุดิบจากธรรมชาติอื่นๆ มาประยุกต์เพื่อกำจัดมด จึงเป็นทางเลือก
ที่น่าจะมีความเหมาะสมที่สุดเพราะกำจัดมดด้วยวิธีนี้ ย่อมไม่ทำอันตรายต่อเด็ก
หรือสัตว์เลี้ยงอย่างแน่นนอนและเป็นสมุนไพรที่หาได้ง่ายในบ้าน
หรือท้องถิ่นของเรา เช่น พริก ขมิ้น โดยใช้สมุนไพรในอัตราส่วนที่แตกต่างกัน
มาทดลองผสมกับน้ำมันเบนซินเพื่อเปรียบเทียบปริมาณที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดในบ้าน
เช่น รอยแตกของพื้นปูน พื้นไม้ ตามต้มไม้ หรือตู้เสื้อผ้า จากการศึกษาพบว่าสารเคมีที่พบในขมิ้นนั้นจะพบในส่วนของน้ำมันหอมระเหยเป็นสำคัญ
โดยทั่วไปแล้วขมิ้นจะมีน้ำมันหอมระเหยตั้งแต่2-6เปอร์เซ็นต์น้ำมันมีสีเหลืองและเรืองแสง
ได้เล็กน้อยสารเคมีที่พบมากที่สุดคือ เทอร์มีโรน (Termerone) ประมาณ 58-59 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการรักษาแผลและรักษาไข้หวัด คณะผู้จัดทำจึงได้เสาะหาวิธีการกำจัดมดและได้พบว่ามีสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ คณะผู้จัดทำจึงได้เสาะหาวิธีการกำจัดมดและได้พบว่ามีสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ คณะผู้จัดทำจึงได้เลือกเอาสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ 2 ชนิดคือพริกและขมิ้นมาเปรียบเทียบว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถกำจัดมดได้ดีกว่ากัน
ได้เล็กน้อยสารเคมีที่พบมากที่สุดคือ เทอร์มีโรน (Termerone) ประมาณ 58-59 เปอร์เซ็นต์ มีความสามารถในการรักษาแผลและรักษาไข้หวัด คณะผู้จัดทำจึงได้เสาะหาวิธีการกำจัดมดและได้พบว่ามีสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ คณะผู้จัดทำจึงได้เสาะหาวิธีการกำจัดมดและได้พบว่ามีสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ คณะผู้จัดทำจึงได้เลือกเอาสมุนไพรที่สามารถกำจัดมดได้ 2 ชนิดคือพริกและขมิ้นมาเปรียบเทียบว่าสมุนไพรชนิดใดสามารถกำจัดมดได้ดีกว่ากัน
จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการกำจัดมดของสมุนไพรต่างชนิดกัน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับความสามรถในการกำจัดมดของ
- หาความเข้มข้นจากสารละลายพริกและขมิ้นที่เหมาะสมในการกำจัดมด
ตัวแปร
ตัวแปรต้น สมุนไพร
ตัวแปรตาม การลดปริมาณของมด
ตัวแปรควบคุม ปริมาณของสมุนไพร,ปริมาณน้ำมันเบนซินและขนาดของรังมด
ขอบเขตของการจัดสร้างโครงงาน
1. ศึกษาการทำสมุนไพรไล่มดโดยใช้พริกและขมิ้น
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการกำจัดมด
หรือแมลง
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พริก
(CHILLI OR HOT PEPPER)
ชื่อสามัญ BirdChilli
ชื่อวิทยาศาสตร์ Capsicum frutescens
Linn.
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ชื่ออื่น
ๆ พริกแด้ พริกแต้ พริกนก
พริกแจว พริกน้ำเมี่ยง (เหนือ-พายัพ) พริก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู(ภาคกลาง-เหนือ)
ดีปลี (ใต้-ปัตตานี) ดีปลีขี้นก ใต้ (ภาคใต้) ลัวะเจีย (แต้จิ๋ว มะระตี้
(สุรินทร์) ล่าเจียว (จีนกลาง) หมักเพ็ด (อีสาน)
“พริก” พืชผักสมุนไพรมากประโยชน์ พริกเป็นพืชผักรับประทานผลที่ใช้บริโภคกันทั่วไป
และเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของโลก เชื่อกันว่าพริกมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา
โดยประเทศเม็กซิโก เป็นศูนย์กำเนิดพริกของโลก
ต่อมานักสำรวจเส้นทางเดินเรือและการค้าชาวโปรตุเกสและสเปน
ได้นำพันธุ์พริกจากอเมริกาใต้มาเผยแพร่ยังเอเซีย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 16 การกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ของพริกคลอบคลุมไปหลายทวีป
รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย พริกเผ็ด มีสารแคปซายซิน
ที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร
ทำให้ร่างกายหลั่งน้ำลายและเอนไซม์ที่ย่อยแป้งในน้ำลายเพิ่มมากขึ้น
การย่อยแป้งที่ปากมากขึ้นจึงทำให้รสอาหารดี แต่ไม่ควรกินพริกมากเกินไป
เพราะอาจทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องเสียและอาเจียนได้
ประโยชน์ของพริกในการเป็นสมุนไพรรักษาโรค พริกเผ็ด มีสรรพคุณคือ
ผลพริก(เม็ดพริก) รสเผ็ดร้อน รับประทานแล้วทำให้ร้อน ทำให้โลหิตไหลเวียนดี
เจริญอาหาร ช่วยย่อย ขับลม ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง แก้อาเจียน แก้โรคบิด
แก้โรคท้องเสีย รักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด รากพริก
แก้โรคแขนขาไม่มีกำลัง อ่อนเปลี้ย ไตและอัณฑะบวม มดลูกมีเลือดออก พริกทั้งต้น มีรสฉุน ร้อน
แก้โรคเหน็บชาที่เกิดจากอากาศเย็นจัด เลือดคลั่ง ปวดข้อ และรักษาแผลที่เกิดจากการกระทบความเย็นจัด
สรรพคุณของพริกทุกชนิดสรรพคุณเสมอกัน คือ ผล
รสเผ็ดร้อน แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ แก้แน่น ขับ ผายลม เจริญอาหาร ดองสุรา หรือบดผสมวาสลีน
ใช้ทาถูนวด หรือแก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ
ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ต้น
รสเผ็ด สุมเป็นถ่านแช่น้ำดื่ม รสเย็น ขับปัสสาวะ แก้กระษัย แก้เส้นเอ็นพิการ
แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ราก
รากฝนกับน้ำมะนาวกับเกลือ แก้เสมหะและแก้ไอ
ขมิ้น (อังกฤษ: Turmeric)
เป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิง มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในของเหง้าเป็นสีเหลือง
มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีสีเหลืองเข้ม จนสีแสดจัด มีชื่อสามัญอื่นอีกคือ ขมิ้นแกง (เชียงใหม่)
ขมิ้นชัน (กลาง,ใต้) ขมิ้นหยอก (เชียงใหม่)
ขมิ้นหัว (เชียงใหม่) ขี้มิ้น (ตรัง,ใต้)
ตายอ (กะเหรี่ยง กำแพงเพชร)
สะยอ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)
และ หมิ้น (ตรัง,ใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขมิ้นเป็นไม้ล้มลุก อายุหลายปี สูง 30-95
ซม. เหง้าใต้ดินรูปไข่ อ้วนสั้น มีแขนงรูปทรงกระบอกแตกออกด้านข้าง 2
ด้าน ตรงกันข้าม เนื้อในเหง้าสีเหลืองส้มหรือสีเหลืองจำปาปนสีแสด
มีกลิ่นฉุน ใบเดี่ยว กลางใบสีแดงคล้ำ แทงออกมาเหง้าเรียงเป็นวงซ้อนทับกันรูปใบหอก
กว้าง 12-15 ซม. ยาว 30-40 ซม.
ดอกช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน
ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล
รูปกลมมี 3 พู
การปลูกเลี้ยง
ขมิ้นเกลียดอากาศค่อนข้างร้อนและไม่มีความชุ่มชื้นในเวลากลางคืน
วิธีปลูกใช้แก้นิวที่อายุได้ 100 - 1,200 ปี
ทำพันธุตัดออกเป็นท่อนละ 1-2 ตา ปลูกลงแปลงหลังจาก 7 วันรากก็จะเริ่มงอกควรรดน้ำทุกวัน หลังจากนั้นเมื่อขมิ้นมีอายุได้ 9-10
เดือนจึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ แถมยังมีอะไรไม่รู้ออกมาตามลำต้น
รสและสรรพคุณยาไทย
เหง้าของขมิ้นมีรสฝาด กลิ่นหอม สามารถเก็บมาใช้เมื่อมีช่วงอายุ 9-10
เดือน มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ แบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ และ มีฤทธิ์ในการขับน้ำดี น้ำมันหอมระเหย
ในขมิ้นชันมีสรรพคุณบรรเทา อาการปวดท้อง ท้องอืด แน่นจุดเสียด แก้โรคผิวหนัง ขับลม
แก้ผื่นคัน แก้ท้องร่วง อาจช่วยรักษาโรค รูมาตอยด์ได้ ยังไม่ยืนยันแน่ชัด
เหง้าขมิ้นมีสารประกอบที่สำคัญ เป็นน้ำมันหอมระเหย
และในเหง้ายังมีสารสีเหลืองส้มที่เรียกว่าเคอร์คมิน สารสกัดด้วยเอทานอลจากเหง้าสดมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสและต้านอนุมูลอิสระ ขมิ้นสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดอาการอักเสบ
มีฤทธิ์ในการขับน้ำได้ดี น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสรรพคุณรักษาปวดท้องเสียด ท้องอืด
แน่นจุกเสียด ขมิ้นไม่มีพิษเฉียบพลัน มีความปลอดภัยสูง
อาหารที่ใช้ขมิ้นเป็นส่วนประกอบได้แก่แกงเหลือง แกงไตปลา แกงกอและ แกงฮังเล ข้าวแขก ข้าหมก ไก่ ขนมเบื้องญวน และเป็นส่วนประกอบสำคัญของผงกะหรี่ ขมิ้นใช้ย้อมผ้าให้ได้สีเหลือง
ถ้าใส่ใบหรือผลมะขามป้อมลงไปด้วยจะได้สีเขียว นอกจากนั้น ในการทำปูนแดง
จะนำปูนขาวมาผสมกับขมิ้น ในสมัยก่อนนิยมเอาผงขมิ้นทาตัวให้ผิวเหลือง
รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ใช้ทาศีรษะหลังโกนผม เพื่อรักษาบาดแผลที่เกิดจากการใช้มีดโกนโกนผม
บทที่
3
วัสดุอุปกรณ์
และวิธีการทดลอง
วัสดุอุปกรณ์และสารเคมี
อุปกรณ์
1. มีด
2. ภาชนะใส่สมุนไพร
3. ครก
4. ขวดพลาสติกเปล่า
วัสดุและสารเคมี
1. ขมิ้น 2
ขีด
2. พริกชี้ฟ้า 2 ขีด
3. น้ำมันเบนซิน
4. น้ำเปล่าสองเท่าของน้ำมันเบนซิน
วิธีการทดลอง
1. เตรียมขมิ้นและพริก
2 ขีด ใส่ลงไปในครก
( ที่มา : http://www.biogang.net ) |
2. เมื่อตำสมุนไพรเสร็จให้ใส่ลงในภาชนะ
3. เติมน้ำลงไปปริมาณ 10 ออนซ์ จากนั้นเติมน้ำมันเบนซินลงไปเล็กน้อยใส่ภาชนะทั้งสองใบแล้วคนให้เข้ากัน
4. กรองน้ำสมุนไพรทั้งสองชนิด
โดยภาชนะกรอง
5. บรรจุลงในขวดพลาสติก
ให้มีปริมาณที่เท่ากัน
6. นำน้ำสมุนไพรทั้งสองชนิด
ไปหยอดลงรังมด
7. ทิ้งไว้ 1 วัน
แล้วสังเกตผลการทดลอง
ภาคผนวก
บทที่ 4
ผลการทดลอง
สาร(ที่ใช้ทำสเปรย์)
| ก่อนฉีดสเปรย์ |
หลังฉีดสเปรย์
|
ขมิ้น
|
มีมดทั้วหมด 20 ตัว |
มดหายไปไม่หมด บางตัวก็ตายหรือไม่ก็ยังไม่ตายเป้นบางตัว
|
พริก
| มีมดทั้งหมด 20 ตัว |
มดหายไปหมดเลย บางตัวก็ตาย
|
ผลการทดลอง
สมุนไพรไล่มดชนิดพริก มดหนีไปหมด
บางตัวก็ตาย ส่วนสมุนไพรไล่มดชนิดขมิ้นไล่มดได้เป็นบางส่วนเท่านั้น
บางตัวก็ตายบ้าง
บทที่ 5
สรุป
อภิปรายผล ข้อเสนอแนะและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
วิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลอง
จะพบว่าสมุนไพรไล่มดที่มีส่วนผสมของพริกจะสามารถไล่มดได้ดีกว่าสมุนไพร
ที่มีส่วนผสมจากขมิ้น เพราะว่าพริกเมื่อถูกสัมผัสกับผิวกายของเรา
จะรู้สึกแสบ ร้อน ระคายระเคือง บางคน
อาจจะมีอาการผื่นคัน
เพราะแพ้พิษของพริก และยังมีส่วนผสมของน้ำมันเบนซินอีกด้วย จึงทำให้สมุนไพรไล่
มดที่มีส่วนผสมของพริกจึงสามารถไล่มดได้ดีกว่าสมุนไพรไล่มดจากขมิ้น
สรุปผลการทดลอง
สมุนไพรที่มีความสามารถในการไล่มดได้ดีจะมีสมบัติดังนั้น คือ เมื่อถูกสัมผัสกับผิวสัมผัสของสัตว์
หรือมนุษย์แล้ว จะรู้สึกร้อน แสบ ระคายระเคือง จึงจะสามารถไล่มดได้ดีกว่า
สมุนไพรที่ทำจากขมิ้น
ข้อเสนอแนะ
ถ้าต้องการให้มดหนีได้ดี
ควรจะเพิ่มปริมาณของสมุนไพรในการฉีดแต่ละครั้ง หรือไม่ก็เพิ่มพริก น้ำมันเบนซิน เพื่อเพิ่มความสามารถในการไล่มด
ประโยชน์ที่จะได้รับ
ประโยชน์ที่จะได้รับ
1.การเพิ่มคุณค่าให้กับสมุนไพรในท้องถิ่น
2.การลดมลพิษให้กับสภาพแวดล้อม
3.การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
น้ำมันเบนซิน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)